การบริหารจัดการแบบองค์รวม Holistic

หลักสูตรการบริหารจัดการแบบองค์รวม (Holistic Management) ระยะเวลาอบรม 1 วัน หลักการและเหตุผล มาตรฐาน ISO 9000 และ ISO14000 กำลังปรับเปลี่ยนครั้งสำคัญในปี คศ. 2015  ที่ต้องการให้องค์กรอยู่รอดในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมอย่างมาก และต้องการให้ผู้บริหารเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น ด้วยการมุ่งเน้นการนำประเด็น (Issues)บริบทภายนอกและภายในองค์กรและความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มาบูรณาการเข้ากับระบบบริหาร การบริหารเชิงกลยุทธ์ และการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผล  ดังนั้นการบริหารจัดการแบบองค์รวม (Holistic Management) เป็นการบริหารที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกลยุทธ์  ระบบ กระบวนการ และการปฏิบัติให้สอดคล้องและบูรณาการกัน ซึ่งหลักสูตรนี้ได้นำเอาเครื่องมือที่เรียกว่า Balanced Scorecard(BSC) มาช่วยในการเชื่อมโยงให้สอดคล้อง เพื่อให้การบริหารจัดการ เกิดประสิทธิผลตามทิศทางเชิงกลยุทธ์ขององค์กร แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในปัจจุบันที่รุนแรง และไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน รวมทั้งการเชื่อมโยงและการประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงาน KPI (Key Performance Indicators) ไปสู่การปฏิบัติ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน อันจะทำให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน วัตถุประสงค์ เพื่อให้เข้าใจแนวคิดการปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการตามมาตรฐานสากลในยุคปัจจุบัน เพื่อให้เข้าใจการบริหารแบบ Holistic Management เพื่อนำ Balanced Scorecard และ Key [...]

การสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงาน KPIs

หลักสูตร การสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จของงาน (Key Performance Indicators) ระยะเวลาอบรม 1 วัน หลักการและเหตุผล ในสภาวะการณ์ปัจจุบันที่การแข่งขันทางธุรกิจมีความรุนแรงมากขึ้น องค์กรธุรกิจต่างๆ จึงต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเริ่มที่จะใช้แนวคิดการจัดการสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการบริหารและการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น แนวคิดการบริหารที่กำลังได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน ได้แก่เรื่องการประเมินผลองค์กร และการกำหนดตัวชี้วัด (Performance Measurement and Key Performance Indicators) ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารสามารถทราบถึงสถานะ และมุ่งเน้นในสิ่งที่เป็นความสำเร็จขององค์กร อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่ผู้บริหารสามารถใช้ในการบริหารองค์กร ตลอดจนประเมินผลการดำเนินงานทั้งในระดับองค์กร ระดับหน่วยงาน และระดับบุคคล     วัตถุประสงค์ เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทราบถึงหลักการและแนวทางในการวางแผนเชิงกลยุทธ์และการวัดผลสำเร็จขององค์กร เพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจเทคนิคการวัดผลสำเร็จขององค์กรวิธีต่างๆ เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปใช้ในทางปฏิบัติเพื่อสร้างดัชนีชี้วัดความสำเร็จในการทำงาน เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ หัวข้อการฝึกอบรม หลักการ และแนวคิดเกี่ยวกับ Key Performance Indicator (KPI) กระบวนการกำหนดดัชนีชี้วัด (KPI) การกำหนดดัชนีชี้วัด และการกระจายดัชนีชี้วัดระดับองค์กรสู่ฝ่ายงาน การจัดทำ KPI Dictionary วิธีการฝึกอบรม การบรรยายจากวิทยากรที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ในการให้คำปรึกษาแนะนำการปรับปรุงกระบวนการอย่างต่อเนื่องในหน่วยงานต่างๆ การฝึกปฏิบัติและกรณีศึกษา คุณสมบัติผู้เข้าอบรม ผู้บริหารระดับกลาง ถึงระดับสูงของหน่วยงาน[.....]

Stakeholder Engagement

Stakeholder Engagement ระยะเวลาอบรม 1 วัน หลักการและเหตุผล เนื่องด้วยองค์กรที่ดำเนินธุรกิจโดยมุ่งหวังเพียงกำไรสูงสุดเพียงอย่างเดียว ย่อมไม่สามารถที่จะอยู่รอดได้ในระยะยาว เพราะจะไม่ได้รับการสนับสนุนรวมถึงอาจได้รับการต่อต้านจากผู้มีส่วนได้เสียต่างๆในสังคม ดังนั้น องค์กรที่ต้องการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงต้องติดตามและเข้าใจถึงความต้องการและความคาดหวังต่างๆของผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในและภายนอกที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้พิจารณาตัดสินใจในการวางแผนและนำไปดำเนินการจัดวางระบบบริหารงานขององค์กรที่สัมฤทธิ์ผลในการตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ และเกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายในสังคม หลักสูตรการฝึกอบรมนี้ ได้นำเสนอแนวทางของมาตรฐาน AA 1000 SES (Stakeholder Engagement Standard) 2011 ในการนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างการมีความมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ขององค์กรได้อย่างครอบคลุมและเป็นระบบ วัตถุประสงค์ ทราบแนวคิดพื้นฐานใหม่ใน ข้อกำหนด ISO 9001:2015 & ISO 14001:2015 ที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย เข้าใจแนวคิดและประโยชน์ของการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย เข้าใจกระบวนการสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย หัวข้อการฝึกอบรม แนวคิดพื้นฐานใหม่ใน ISO 9000:2015 ที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย ความจำเป็นและประโยชน์ของการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ขั้นตอนการสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิธีการฝึกอบรม บรรยาย โดยวิทยากรที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการและการทำแผนแม่บทเพื่อสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร   ­คุณสมบัติผู้เข้าอบรม ผู้ที่ต้องการจัดทำ คงไว้ และปรับปรุงระบบบริหารงานคุณภาพในองค์กร ผู้ที่เป็น QMR (Quality Management[.....]

การดำเนินการสู่ความยั่งยืนเพื่อความเป็นเลิศ

การดำเนินการสู่ความยั่งยืนเพื่อความเป็นเลิศ Overview Roadmap to Sustainability Excellence หลักการและเหตุผล ความยั่งยืน (SUSTAINABILITY) เป็นหนึ่งใน MEGA TRENDS ที่ทั่วโลกให้ความสำคัญเป็นกล่าวถึงอย่างมากในปัจจุบัน และมีผลกระทบกับองค์กรทุกภาคส่วน ตามที่ปรากฏในกรอบการจัดการองค์กรเพื่อความเป็นเลิศ (BUSINESS EXCELLENCE) ต่างๆ เช่น BALDRIGE NATIONAL QUALITY AWARD (BNQA), THAILAND QUALITY AWARD (TQA) เพื่อช่วยให้องค์กรมองเห็นเป้าหมายและกำหนดเส้นทางการพัฒนา (ROADMAP) ของตนไปสู่ความยั่งยืนได้ โดยแนวทางการประเมินนี้ได้ให้ความสำคัญใน 4 ด้าน คือ การกำกับดูแลกิจการ (GOVERNANCE) การสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้เสีย (STAKEHOLDER ENGAGEMENT) การเปิดเผยข้อมูล (DISCLOSURE) และสมรรถนะการดำเนินการ (PERFORMANCE) วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนด้วยมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล เพื่อสามารถนำความรู้ไปปรับปรุงกระบวนการทำงานสู่ความยั่งยืนอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ เหมาะสำหรับ ผู้บริหารระดับสูง และระดับกลาง นักวิชาการ หรือผู้ที่สนใจทั่วไป วิธีการอบรม การบรรยาย ยกตัวอย่าง[.....]